วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ประวัติความเป็นมาของชุมชน




ชาวบ้านทรายสืบเชื้อสายมาจาก ชาว “ไทยพวน” ซึ่งมีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ที่ เมืองพวน แขวงเมืองเชียงขวาง ประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ต่อมาได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศ ไทย ตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ชาวบ้านตำบลบ้านทรายมีความ เชื่อถือในการเลี้ยงเจ้าพ่อ ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้านที่ช่วยดูแลคุ้มครองชาวบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุขปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เสริมสร้างขวัญและกำลังใจของผู้คนในตำบล การเลี้ยงเจ้า พ่อ ชาวบ้านจะนำอาหารคาว หวาน ไปถวายเจ้าพ่อ เช่น หัวหมูต้ม ไก่ต้ม หมาก พลู เหล้าขาว บุหรี่ พวงมาลัย ผ้าแดง และ อื่นๆ หรือการละเล่นต่างๆ ที่ชาวบ้านได้บน ไว้ เช่น ลิเก การรำ เป็นต้น การประกอบ พิธีกรรม เริ่มตอนเช้าโดยมีร่างทรงเป็น ผู้กระทำพิธี ประเพณีที่สำคัญของชาวไทยพวน ตำบลบ้านทราย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัด ลพบุรี ได้แก่ ประเพณีกำฟ้า เป็นประเพณี ที่นับถือสักการะ บูชาฟ้า เพื่อสร้างความพึง พอใจและดลบันดาลให้ฝนตกต้องตาม ฤดูกาล มีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์


วัตถุประสงค์

๑. เพื่อความสนุกสนานรื่นเริง
๒. เพื่อผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อย หลังจากที่ได้ทำงานมาตลอดทั้งวัน
๓. เพื่อเป็นการนัดพบปะกันระหว่างหนุ่มสาว
๔. เพื่อสร้างความรัก ความสามัคคีในหมู่คนไทยพวนด้วยกัน
๕. เพื่อสื่อถึงดวงวิญญาณของญาติพี่น้อง ที่ล่วงลับไปแล้ว (ตามความเชื่อของคนไทยพวนที่สืบทอดต่อ ๆ กันมาจากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลาน



ประวัติความเป็นมาการแสดงนางกวัก

การแสดงนางกวัก เป็นการแสดงพื้นบ้าน ตามความเชื่อที่ว่า สามารถเชิญ ดวงวิญญาณ ให้มาสิงสถิตในอุปกรณ์ที่ประกอบขึ้นมา ที่คล้ายกับตัวตุ๊กตา เป็นการแสดงที่บรรพบุรุษปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ในสมัยโบราณ เป็นการเสี่ยงทายเกี่ยวกับสิ่ง ต่างๆ ในหมู่บ้าน และชีวิต เช่น โชคชะตา ราศี ดวงของหมู่บ้าน เป็นต้น
อุปกรณ์ที่จะทำเป็นนางกวักประกอบด้วย กวักปั่นด้าย ไม้คาน ลูกกระพวนหรือสร้อยคอที่ทำจากเปลือกหอย นำมาร้อยเป็นสร้อยคอ เสื้อผ้าของสตรี นำมาประกอบกันแล้วคล้ายตุ๊กตา อีกทั้งเครื่องสำอางอีกหนึ่งชุด การแสดงนางกวัก นิยมเล่นกันในงานสงกรานต์ งานประเพณีกำฟ้า งานบุญ สารท (สารทพวน) แต่ในปัจจุบันการแสดง นางกวักนอกจากจะแสดงในวันที่มีงานทำบุญ แล้วยังมีการแสดงในกิจกรรมงานของจังหวัด เช่น งานแผ่นดินสมเด็จพระ นารายณ์มหาราช การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทางวัฒนธรรมระหว่างจังหวัดต่างๆ ฯลฯ

อุปกรณ์การเล่นนางกวัก




๑.การเตรียมขันธ์ ๕ ระกอบด้วย ธูป ๕ ดอก เทียน ๕ เล่ม ดอกไม้ ๑ กำ แป้ง น้ำมัน หวี และลิปสติก



๒. เตรียมตัวนางกวัก (หุ่น) ตัว กวักทำจากไม้ลวก ได้แก่ กวักปั่นหมี่ ปั่น ด้าย (เป็นอุปกรณ์การทอผ้า)
อุปกรณ์
๑. ตัวกวัก
๒. ไม้คาน ๑ อัน
๓. สาก ๒ อัน
๔. ม้านั่ง ๒ อัน
๕. กระด้งใส่ทราย
๖. สมาชิก ๕- ๑๐ คน ร้องเชิญ วิญญาณ

เนื้อเพลงนางกวัก


นางกวักเอย ทะลักทักแท้
แม่เจ้าแหย่ เจ้าแม่แหย่ยอง
หาคนยกคนยอให้สูงเพียงช้าง
เจ้าจะอ้าง ต่ำหูกเดือนหงาย
ทะลิงทลาย เดือนแจ้ง
เสร็จแอ้งแม้ง เจ้าแม่นางกวัก

วิธีการแสดงนางกวัก







การแสดงนางกวัก ส่วนมากมักเล่น ตอนกลางคืน เพราะมีความเชื่อว่า จะ สะดวกในการเชิญดวงวิญญาณ มาสิงสถิต ตุ๊กตาง่ายกว่าตอนกลางวัน เมื่อแสดง นางกวัก ใช้ผู้หญิงสองคนในการถือกวัก ไปเชิญดวงวิญญาณที่ทางสามแพร่ง หนึ่ง คนถือขันห้า ประกอบด้วย ดอกไม้ ธูป เทียน เพื่อเรียกขานเชิญดวงวิญญาณ และ อีกห้าถึงสิบคน จะไปยืนร้องเพลงเชิญดวงวิ ญาณมาสิงสถิต ซึ่งมีถ้อยคำทำนองที่เป็น ลั ก ษ ณ ะ เ ฉ พ า ะ แ ต่ ก็แ ฝ ง ด้ ว ย ค ว า ม สนุกสนาน เพื่อแสดงนางกวัก สองคนที่ถือ หุ่นนางกวัก ต้องเป็นคนที่มีจิตใจอ่อนไหว ง่าย จับที่ส่วนล่างหรือที่เรียกว่าตีนกวัก เมื่อ ได้เชิญดวงวิญญาณ อย่างถูกต้องแล้ว จะ กลับมายังบริเวณลานกว้างกลางที่โล่งแจ้ง
จากการสังเกตที่ว่าเมื่อมีดวง วิญญาณที่เข้ามาสิงสถิต หุ่นตัวตุ๊กตา นางกวัก จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมีการโยกย้าย เคลื่อนไหวไปมา ราวเหมือนกับว่ามีชีวิต ยิ่ง ได้ยินเสียงร้องเพลงเสียงตบมือ จากคนดู รอบๆ ก็ยิ่งแสดงอาการให้เห็นอย่างชัดเจน เมื่อมาถึงที่เตรียมไว้ ผู้หญิงสองคน ยังคงแล้วแต่โอกาสจะพบ หากรับได้ก็เล่นต่อ หากอารมณ์ร้ายก็ขอให้ออกไป เมื่อเล่นถึง เวลาอันสมควร ก็จะขอขมาลาโทษกัน ที่ การเล่นนางกวักอาจมีการล่วงเกินด้วยวาจา เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จากนั้นก็จะ วางหุ่นกวักลงกับพื้น เป็นอันว่าสิ้นสุดการ เล่นนางกวัก นับว่าเป็นเรื่องแปลก และเป็น ความเชื่อในกลุ่มชน ที่สืบเนื่องต่อๆ กันมา แต่ครั้งโบราณกาล

วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การแต่งกายของผู้แสดงนางกวัก






ผู้แสดงนางกวักเป็นหญิง จึงนุ่งผ้าซิ่นใส่เสื้อแขนสั้น หรือใส่เสื้อคอกะแหร่ง มีสไบพาด

๑. การละเล่นนางกวัก ทำให้เห็นเค้าเงื่อนของการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมของตน
๒. ชาวพวนในปัจจุบันนี้ ยังมีความเชื่อถือในเรื่องวิญญาณและสิ่งศักดิ์
๓. ประเพณีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยพวนบ้านหมี่ลพบุรี
สู่ขวัญบวชนาค แต่งงาน พิธีที่เป็นของประจำหมู่บ้าน เช่น สวดคาถาปลาข้อ พิธีกวนข้าวทิพย์ บุญห่อข้าว เส่อกระจาด พิธีกำฟ้า การละเล่นนางกวัก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในพิธีกำฟ้า เป็นต้น