วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ประวัติความเป็นมาการแสดงนางกวัก

การแสดงนางกวัก เป็นการแสดงพื้นบ้าน ตามความเชื่อที่ว่า สามารถเชิญ ดวงวิญญาณ ให้มาสิงสถิตในอุปกรณ์ที่ประกอบขึ้นมา ที่คล้ายกับตัวตุ๊กตา เป็นการแสดงที่บรรพบุรุษปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ในสมัยโบราณ เป็นการเสี่ยงทายเกี่ยวกับสิ่ง ต่างๆ ในหมู่บ้าน และชีวิต เช่น โชคชะตา ราศี ดวงของหมู่บ้าน เป็นต้น
อุปกรณ์ที่จะทำเป็นนางกวักประกอบด้วย กวักปั่นด้าย ไม้คาน ลูกกระพวนหรือสร้อยคอที่ทำจากเปลือกหอย นำมาร้อยเป็นสร้อยคอ เสื้อผ้าของสตรี นำมาประกอบกันแล้วคล้ายตุ๊กตา อีกทั้งเครื่องสำอางอีกหนึ่งชุด การแสดงนางกวัก นิยมเล่นกันในงานสงกรานต์ งานประเพณีกำฟ้า งานบุญ สารท (สารทพวน) แต่ในปัจจุบันการแสดง นางกวักนอกจากจะแสดงในวันที่มีงานทำบุญ แล้วยังมีการแสดงในกิจกรรมงานของจังหวัด เช่น งานแผ่นดินสมเด็จพระ นารายณ์มหาราช การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทางวัฒนธรรมระหว่างจังหวัดต่างๆ ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น: