วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2551

เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต

7.1 มีดโต้ เป็นมีดที่ใช้สำหรับตัดไม้มีขนาดใหญ่สันหนาน้ำหนักมาก ยาวประมาณ 40-50 เซนติเมตร มี 2 ชนิดคือ ชนิดสันโค้ง และสันตรง
7.2 มีดตอกเป็นมีดทรงเรียวแหลม คมมีดโค้งมน เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานส่วนใหญ่ช่างจักสานมักต่อด้ามยาวออกไปประมาณ 60 ซ.ม. เพื่อสามารถสอดเข้าไปขัดไว้ในซอกแขนช่วยให้การบังคับคมมีดดีขึ้นมีดจักตอกมักมีน้ำหนักเบา ค่อนข้างบาง ใช้จักตอกให้เป็นเส้น ช่างจักสานมักใช้เป็นมีดประจำตัว
7.3 เลื่อยลันดา เป็นเลื่อยใช้งานทั่วไปใช้สำหรับตัดหรือฝ่าไม้ตามความต้องการ ใช้งานเมื่อให้
ปลายไม้ทั้งสองเรียบเสมอกัน เวลาใช้ควรวางเลื่อยให้ได้ 60 องศา กับงานในการใช้เลื่อยต้องใช้เลื่อยที่ฟันละเอียดคม
7.4 เลียด คือ เครื่องมือชักหวายให้ได้เส้นตามขนาดที่ต้องการ หรืออาจทำขึ้นเองจากวัสดุที่ทำจาก สังกะสีหรืออลูมิเนียม เช่น จานกิโล,จานสังกะสี บ้างเรียกว่า รูร้อยหวาย ทำด้วยเหล็ก นำมาเจาะรูขนาดต่างๆ ตามต้องการใช้สำหรับสอดร้อยหวายเข้าไป เพื่อลบความคมและช่วยให้หวายมีขนาดเท่ากัน
7.5 หินลับมีด เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้มีดคมอยู่เสมอ ซึ่งมีความสำคัญมากในการจักตอก
7.6 กระดาษทราย เป็นแผ่นเนื้อคายเหมือนทราย ไว้สำหรับขัดตะกร้าไม้สักให้เรียบเป็นมันหรือขัดหวายที่เป็นขนให้หลุด เพื่อความสวยงามในการสาน
7.7 ไม้สัก เป็นไม้เนื้ออ่อน ลวดลายสวยงาม และทนทาน เหมาะที่จะใช้งานในการทำก้นตะกร้า
7.8 ตะปูเข็ม คือตะปูตัวเล็กที่สุด เหมาะที่จะใช้งานตอกหวายติดกับไม้สักเพื่อใส่คิ้ว (ตอกตัว) ให้ติดแน่นไม่หลุดและมีอายุการใช้งานได้นาน
7.9 เหล็กหมาด มีลักษณะเป็นเหล็กแหลมยาวประมาณ 4 นิ้ว มีด้ามขนาดเหมาะมือที่ทำหน้าที่
เจาะรู และประกอบการจักสาน อาจจะทำจากเหล็กเส้น หรือลวดที่มีความแข็ง ซี่ล้อลวดจักรยานโครงร่ม ที่ใช้แล้ว นำมาฝนให้แหลม เหล็กหมาด 2 ชนิด คือ ชนิดปลายแหลมและชนิดปลายแบนชนิดปลายแหลมใช้เจาะเพื่อร้อยเส้นหวายส่วนชนิดปลายแบนใช้เจาะเพื่อร้อยเส้นตอก
7.10 ค้อนหงอน ค้อนขนาดเล็กเหมาะสมสำหรับการจัดสาน ใช้ตอกตะปูถอนตะปูหรือตอกไม้เวลาประกอบชิ้นงาน

ไม่มีความคิดเห็น: