วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ขั้นการผลิต

1. รูปแบบตะกร้า (รองตะกร้า) สร้างขึ้นด้วยไม้ตามแบบที่เราต้องการ ถ้าทรงเหลี่ยมข้างในจะกลวงทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ถ้ารูปไข่ และทรงกลม ข้างในจะตันทำด้วยไม้ก้ามปูหรือไม้เนื้ออ่อนอื่นๆ
2. เหลาหวายและดิ้วเป็นการทำให้หวาย และไม้ไผ่มีขนาดพอเหมาะที่จะใช้ในการสานตะกร้า หวายเหลาเป็นเส้นยาว เล็กและยาว ไม้ไผ่เหลาเล็กบางพอดีกับหวายเรียกว่า ดิ้ว ใช้สำหรับทำตอกตั้งในการสานตะกร้าควรมีความพยายามและมีความรับผิดชอบจึงจะได้หวายและดิ้วที่มีคุณภาพ เพียงพอที่จะสานตะกร้าได้สำเร็จ
3. นำไม้หวายมาเหลาให้เป็นเส้น
4. นำเข้าเครื่องชักหวาย หรือ เลียด เพื่อให้เป็นตามขนาดที่ต้องการ หรือใช้ ฝาหม้อ หรือจานสังกะสี
นำมาเจาะรูไล่ขนาดเล็ก ใหญ่ ขนาดใหญ่เท่ากับเส้นหวาย ไล่ลำดับขนาด เล็กลงไปจนเท่ากับเส้นด้าย
5. นำไม้ไผ่สีสุก เหลาให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ (เรียกว่าดิ้ว) นำไปต้มเพื่อย้อมสี (สีที่ใช้เป็นสจากธรรมชาติ) คือ ขมิ้น ผิวมะกรูด ประมาณ 1 ลูก ขมิ้นทุบรากยอ ให้สีเหลือง เปลือกลำต้นคาง (ต้ม) ให้สีน้ำตาล
ส่วนผสมของสี
เกลือ 1 กำมือ
มะกรูด 2-3 ลูก
น้ำ ประมาณ 2 ขัน
ขมิ้นทุบ ประมาณ ½ กก.
ต้มให้เดือด น้ำสีจะออกมา ใส่เส้นดิ้วลงไปต้มนาน ½ ชั่วโมง
6. นำเส้นคิ้วไปล้างให้สะอาด จนน้ำใสกันสีตก จากนั้นนำไปตากแห้ง
7. นำไม้สักขนาดที่เราต้องการหนาประมาณ 0.5 เซนติเมตร เลื่อยตามรูปทรงของตะกร้าทำเป็นก้นตะกร้า จากนั้นนำเส้นหวายมาตอกตะปู ติดกันได้ก้นตะกร้าโดยรอบ
8. นำปั้นจั่น หรือ หลัก (ทำขึ้นเอง ใช้ต่อกับแบบหรือรองเพื่อยึดรูปทรงตะกร้าตามแบบ)
9. นำเส้นดิ้วมาเสียบกับก้นตะกร้าโดยรอบ
10. นำเส้นหวายมาจักสานตามลายที่เราต้องการ

ไม่มีความคิดเห็น: