วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ลวดลายพื้นฐาน

ถือเป็นลายแม่บท สำหรับจักสานทั่วไป ช่างจักสานทุกคนที่จะทำงานจักสานจะต้องเรียนรู้ลวดลาย
แม่บท ซึ่งมีทั้งสิ้น 6 ลวดลาย โดยสามารถสานได้อย่างแม่นยำเสียก่อนจึงจะข้ามไปใช้ลวดลายอื่นๆ ลวดลายแม่บท ซึ่งเป็นลวดลายที่มีกฎเกณฑ์ตามตัว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ มีดังนี้
1. ลายขัด คือ ลายที่ยก 1 ข่ม 1 สลับกันเรื่อยไป
2. ลายสอง คือ จะมีขึ้นตอนการสานดังนี้
การสานเส้น 1 เริ่มจากตอก 8 เส้น เป็นเส้นตั้งข้ามไป 1 เส้น สานยกไป 2 เส้นข้าม 2 เส้น ยก 2 เส้น ข้าม 1 เส้น
การสานเส้นที่ 2 ข้าม 2 เส้น ยก 2 เส้น

การสานเส้นที่ 3 ยก 1 เส้น ข้าม 2 เส้น ยก 2 เส้น ข้าม 2 เส้น ยก 1 เส้น
การสานเส้นที่ 4 ยก 2 เส้น ข้าม 2 เส้น ยก 2 เส้น ข้าม 2 เส้น
3. ลายสาม เป็นลายที่ดัดแปลงเพิ่มจากลายสอง การสานใช้ตอก 8 เส้น เป็นเส้นตั้ง
เส้น 1 ข้าม 3 ยก 3 ข้าม 2
เส้น 2 ยก 1 ข้าม ยก 3 ข้าม 1
เส้น 3 ยก 2 ข้าม 3 ยก 3
เส้น 4 ยก 3 ข้าม 3 ยก 2
เส้น 5 ข้าม 1 ยก 3 ข้าม 3 ยก 1
เส้น 6 ยก 2 ข้าม 3 ยก 3
4. ลายตาหลิว อาจจะเรียกต่างกันไปตามพื้นถิ่น เช่น ลายตาชลอม ลายชะหมู ลายตาหลิว เป็นลายดัดแปลงมาจากพื้นฐานโดยเพิ่มตอกขัดทแยงเป็นลายดอกขิง ลายดอกจัน ลายดอกพิกุล ลายตาชลอม
5. ลายขอ เป็นลายสำหรับสานกระด้ง โดยใช้ไผ่สีสุกสานเพราะเป็นไผ่ที่เหนียวไม่เปราะ
6. ตะบองหยอง เป็นลายกระด้งที่ใช้กันทางภาคใต้ ใช้เก็บพริก กาแฟ ข้าวเปลือก

ไม่มีความคิดเห็น: